ย้อนกลับ
หน้าหลัก
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลและเนื้อหา
ไขข้อสงสัย น้ำประปา กินได้ไหม? มั่นใจได้อย่างไรว่าปลอดภัย

ไขข้อสงสัย น้ำประปา กินได้ไหม? มั่นใจได้อย่างไรว่าปลอดภัย

น้ำประปา กินได้ไหม

ปัจจุบันคนไทยใส่ใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น แต่มักปล่อยปละละเลยบางเรื่องที่ใกล้ตัวอย่างระบบประปาภายในบ้าน ถึงแม้ว่าจะมีข้อสงสัยว่าน้ำประปา กินได้ไหม? แต่ผู้คนส่วนมากมักนำน้ำประปามาใช้ดื่มโดยที่ไม่ได้คิดถึงเรื่องความสะอาดมากนัก 

สุดท้ายแล้วน้ำประปา กินได้ไหม? ถ้าน้ำประปาดื่มได้จะต้องผ่านกรรมวิธีอะไรมาบ้างจึงสามารถดื่มได้อย่างปลอดภัย และสามารถนำไปใช้งานด้านอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ วันนี้ UU Group ได้รวบรวมสาระดี ๆ เกี่ยวกับน้ำประปา กินได้ไหมไว้ในบทความนี้แล้ว ห้ามพลาดรีบอ่านเลย

สารบัญทความ

น้ำประปา คืออะไร มาจากไหน?

น้ำประปา กินได้ไหม? คำถามที่หลาย ๆ คนสงสัย เพราะด้วยลักษณะของน้ำประปาที่ดูใส ไร้สิ่งเจือปน ทำให้หลายคนเข้าใจว่าสามารถดื่มได้เลย แต่ที่จริงแล้วนั้นภายในน้ำประปาอาจจะมีสิ่งปนเปื้อนที่เจือปนอยู่ แต่อาจจะมองเห็นด้วยตาเปล่ายาก เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพมากขึ้นว่าทำไมถึงมีสิ่งเจือปนในน้ำ ในที่นี้จะมาอธิบายก่อนว่าน้ำประปาคืออะไร?

น้ำประปา คือ น้ำที่มาจากระบบผลิตน้ำประปา ที่ได้นำน้ำจากแหล่งต่าง ๆ มาเข้าสู่กระบวนการผลิตให้น้ำมีคุณภาพดี ปลอดภัย ได้มาตรฐาน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันทั้งการอุปโภคบริโภคได้ โดยน้ำที่นำมาเข้าสู่กระบวนการผลิตส่วนใหญ่จะมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ น้ำดิบ น้ำบาดาล และแหล่งน้ำผิวดิน เช่น น้ำจากคลอง แม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น

เพื่อให้มีน้ำสะอาดใช้ทั้งด้านการอุปโภคบริโภค รวมถึงการนำน้ำประปาไปใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตร และงานในด้านอื่น ๆ ได้อย่างเพียงพอ จึงได้มีรวมไปถึงมีการกระจายน้ำประปาไปยังพื้นที่ที่ห่างไกล ทำให้ไม่ขาดแคลนน้ำสะอาดไว้ใช้ โดยกระบวนการผลิตน้ำให้มีคุณภาพจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน

  1. ระบบน้ำประปาผิวดิน เป็นการนำน้ำผิวดินที่ได้มาจากบึง หนองน้ำ ลำคลอง แม่น้ำ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่อาจปนเปื้อนสารพิษ และมีสารอินทรีย์สูง อีกทั้งน้ำค่อนข้างขุ่นมาก จึงจำเป็นต้องผ่านกระบวนการปรับสภาพน้ำให้สะอาด เพื่อนำไปใช้ในครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้

  2. ระบบน้ำประปาบาดาล น้ำบาดาลเกิดจากน้ำผิวดินที่ซึมผ่านชั้นหิน ดิน ทราย ทำให้มีการปนเปื้อนจากเชื้อโรค ทั้งสารละลาย สารเคมี สนิมเหล็กเป็นต้นซึ่งการปนเปื้อนทั้งหลายเหล่านี้เป็นอันตรายต่อการบริโภค จึงจำเป็นต้องผ่านกระบวนการผลิตน้ำประปาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้น้ำประปาที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างปลอดภัย

  3. ระบบน้ำประปาหมู่บ้าน เป็นการนำน้ำผิวดินจากแหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ ทั้งลำคลอง แม่น้ำ เพื่อมาผลิตหรือแปรสภาพให้กลายเป็นน้ำที่สะอาด และปลอดภัยมากขึ้น สามารถนำไปใช้แจกจ่ายให้แต่ละครัวเรือนผ่านท่อประปา เพื่อให้ได้นำไปใช้สำหรับอุปโภคและบริโภค หรือนำไปใช้สำหรับการประกอบอาชีพการเกษตร ช่วยลดการขาดแคลนน้ำในหมู่บ้าน หรือชุมชนที่ห่างไกล

  4. ระบบน้ำประปาในบ้านและอาคาร เป็นการวางท่อประปาตามจุดที่มีความจำเป็นสำหรับการใช้น้ำโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการรับน้ำประปาจากส่วนกลางที่มีการแจกจ่ายไปตามบ้าน สำนักงานหรืออาคาร ซึ่งในแต่ละที่จะมีการติดตั้งถังเก็บน้ำประปา และมีระบบจ่ายน้ำด้วยความดัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้น้ำได้มากขึ้น แถมยังมีน้ำไว้ใช้ในครัวเรือนยามฉุกเฉิน

น้ำประปา กินได้ไหม อันตรายหรือไม่?

มีข้อสงสัยไม่น้อยว่าจริง ๆ ว่าน้ำประปา กินได้ไหม? เพราะหลาย ๆ คนคงทราบกันว่ามีการนำคลอรีนใส่น้ำประปาเพื่อทำการฆ่าเชื้อโรค จุลินทรีย์ต่าง ๆ ที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำ จากข้อมูลที่ได้มาจากองค์การอนามัยโลก ยืนยันได้ว่าน้ำประปาสามารถนำมาบริโภคได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 

แล้วคลอรีนกินได้ไหม? ในกระบวนการผลิตน้ำประปานำคลอรีนมาใช้ในการฆ่าเชื้อโดยควบคุมปริมาณให้เหมาะสมตามที่ WHO แนะนำ และทางการประปานครหลวงได้กำหนดให้มีปริมาณคลอรีนตกค้างในน้ำประปาได้ที่ปริมาณ 0.2-2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งเป็นปริมาณที่สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย

สาเหตุที่ไม่ควรนำน้ำประปามาดื่มทันที มีอะไรบ้าง?

น้ำประปาต้ม กินได้ไหม

ถึงแม้ว่าน้ำประปาที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันจะผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อจนเป็นน้ำที่มีคุณภาพดี สะอาด ปลอดภัย แต่ในกรณีที่จะนำน้ำประปามาใช้บริโภคทันทีจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น

1. น้ำประปาที่มีปริมาณคลอรีนมากเกินไป

น้ำประปาที่มีปริมาณคลอรีนกินได้ไหม? แม้จะใส่คลอรีนในน้ำประปาเพื่อฆ่าเชื้อโรค แต่ถ้าใช้คลอรีนมากกว่าปริมาณที่กำหนดก็อาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นหากใช้คลอรีนจำเป็นจะควบคุมให้ปริมาณอยู่ในระดับที่เหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญระบบน้ำโดยตรงเท่านั้น

2. ท่อประปามีอายุการใช้งานนาน เกิดแตกหรือชำรุด

สิ่งของต่าง ๆ ล้วนมีข้อจำกัดเรื่องอายุการใช้งาน ท่อประปาเองก็เช่นกัน แม้ว่าท่อประปาจะมีอายุการใช้งานนาน แต่หากใช้งานนานก็จะเสื่อมสภาพลง ทำให้ท่ออาจแตกหักชำรุด หรือเกิดตะกอนที่ฝังตัวกับท่อหลุดลอกมาปะปนกับน้ำประปาได้

3. กระบวนการและแหล่งผลิตน้ำประปาได้มาตรฐานหรือไม่

แม้ว่าน้ำประปาจะผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจากทางการประปา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าน้ำประปาที่ส่งมาให้ตามครัวเรือนนั้นจะได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เพราะจะต้องผ่านท่อน้ำ ก๊อกน้ำ ซึ่งอาจจะมีเชื้อโรคหรือสิ่งปนเปื้อนเจือปนหลังจากในระหว่างที่ทำการส่งน้ำประปามา 

4. เสี่ยงกับปัญหาสุขภาพที่จะตามมาในอนาคต

น้ำประปาที่ไหลออกจากก๊อกน้ำโดยตรงนั้น อาจมีโอกาสปนเปื้อนตะกอน สารตกค้าง เชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ รวมถึงเชื้อโรค โดยเฉพาะหากนำน้ำจากก๊อกมาบริโภคหรืออุปโภคโดยตรง จะทำให้เสี่ยงต่ออาการปวดท้อง ท้องเสีย เป็นไข้ และยังมีโอกาสที่จะส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้ ดังนั้นน้ำประปาจากก๊อกน้ำกินได้ไหมนั้นควรเลี่ยงการกินน้ำที่ไม่ผ่านการกรองเพื่อไม่ให้สารที่เป็นอันตรายเข้าไปในร่างกาย

น้ำประปาดื่มได้ ควรมีมาตรฐานอย่างไร?

การตัดสินว่าน้ำประปาดื่มได้ไหมนั้นจะต้องพิจารณามาตรฐานของน้ำที่มี โดยน้ำประปาที่นำมาดื่มได้นั้นจำเป็นจะต้องผ่านการควบคุมคุณภาพของน้ำให้ถึงตามเกณฑ์ที่กำหนด ตั้งแต่กระบวนการผลิต การตรวจวัดคุณภาพน้ำก่อนส่งน้ำประปาตามท่อไปยังครัวเรือน เพื่อให้ประชาชนสามารถวางใจได้ว่าน้ำที่ส่งมามีมาตรฐานตามเกณฑ์ สามารถนำมาอุปโภคและบริโภคได้อย่างปลอดภัย

ในส่วนของเกณฑ์วัดมาตรฐานควบคุมคุณภาพน้ำประปาจากทางกรมอนามัยนั้นแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

  1. คุณภาพน้ำทางกายภาพ (วัดความขุ่น, สีน้ำ และความเป็นกรด-ด่าง)
  2. คุณภาพน้ำทางเคมีทั่วไป (วัดปริมาณของแข็งละลายน้ำทั้งหมด, ความกระด้าง, ซัลเฟต, คลอไรด์, ไนเตรท, ไนไตรท์ และฟลูออไรด์)
  3. คุณภาพน้ำทางโลหะหนักทั่วไป (วัดปริมาณเหล็ก, แมงกานีส, ทองแดง และสังกะสี)
  4. คุณภาพน้ำทางโลหะหนักที่เป็นพิษ (วัดปริมาณตะกั่ว, โครเมียมรวม, แคดเมียม, สารหนู และปรอท)
  5. คุณภาพน้ำทางแบคทีเรีย (วัดปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียและอีโคไล)

โดยปริมาณสารทั้งหมดจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพื่อให้น้ำประปาสามารถนำมาบริโภคได้อย่างปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

หากนำน้ำประปามากิน มีเรื่องที่ควรระวังอะไรบ้าง?

น้ำก๊อก กินได้ไหม

สำหรับหลายครัวเรือนที่มีการนำน้ำประปามาใช้ในการอุปโภคหรือบริโภค ต้องคำนึงก่อนทุกครั้งด้วยว่าน้ำประปา กินได้ไหม แม้ว่าจะรู้ขั้นตอนการผลิตน้ำประปาเบื้องต้นแล้ว ว่ามีการฆ่าเชื้อโรค และมีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน แต่ก็ต้องพึงระวังจากการกินน้ำประปาด้วยเช่นกัน ดังนี้

  • หากน้ำประปามีกลิ่นคลอรีนแรงมากเกินไป มีความเป็นไปได้ว่าปริมาณคลอรีนในน้ำประปามากเกินกว่าค่าที่กำหนด จึงไม่ควรนำมาบริโภคเพราะจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้
  • ใส่ใจเรื่องความสะอาดของน้ำประปา โดยควรสังเกตความขุ่นของน้ำและสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ หากมีอย่างใดอย่างหนึ่งให้หลีกเลี่ยงการทานน้ำประปาเพราะอาจเกิดจากท่อส่งน้ำที่เก่าหรือชำรุด 
  • ในกรณีน้ําประปาต้ม แล้วเกิดความกังวลว่ากินได้ไหมนั้น แม้จะนำไปต้ม และกรองด้วยวิธีต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ก็อาจจะมีการปนเปื้อนของสารเคมีตกค้าง หรือเชื้อโรคเจือปนได้ ฉะนั้นจึงไม่แนะนำให้นำน้ำประปามาต้มเพื่อบริโภคแต่อย่างใด

หากนำน้ำประปามาดื่ม จะทำอย่างไรให้ปลอดภัย

น้ำประปา กินได้ไหม? จะต้องทำอย่างไรให้ได้น้ำประปาที่สะอาดปลอดภัยต่อการบริโภคและใช้งาน หลังจากที่ทราบข้อมูลขั้นตอนการนำน้ำดิบจากแหล่งต่าง ๆ มาเข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำประปาที่สะอาด ปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรคแล้ว ก็ควรทราบวิธีที่ช่วยทำให้มั่นใจได้ว่าน้ำที่นำมาใช้มีความสะอาดจริง ๆ ดังนี้

  • น้ำประปาในโรงงานอุตสาหกรรม

สำหรับอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องใช้น้ำปริมาณมากควรทำระบบน้ำภายในโรงงานให้เรียบร้อย ทั้งนี้ในแต่ละโรงงานอาจใช้น้ำต่างประเภทกัน ดังนั้นก่อนติดตั้งระบบน้ำภายในโรงงานจะต้องคำนึงถึงเรื่องการใช้น้ำในโรงงานเป็นหลัก เช่น โรงงานที่ใช้น้ำอ่อนก็ติดตั้งระบบ Softener, โรงงานผลิตอาหารและน้ำติดตั้งระบบ RO, โรงงานที่ต้องใช้น้ำที่มีความบริสุทธิ์สูงติดตั้งระบบ DI เป็นต้น

  • น้ำประปาในชุมชน

หากระบบประปาในชุมชนดี จะช่วยให้ประชาชนได้กินและใช้น้ำสะอาด โดยการเพิ่มตู้กดน้ำที่ผ่านการรับรองโดยอย. ติดตั้งเครื่องกรองน้ำที่ใช้ระบบ UV กรองแสงเพื่อกำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในน้ำ หรือติดตั้งเครื่องกรองน้ำระบบ RO ก็จะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำในแต่ละชุมชนมากขึ้น

  • น้ำประปาในครัวเรือน

การติดเครื่องกรองน้ำที่ใช้ระบบ Reverse Osmosis (RO) ซึ่งเป็นระบบช่วยกรองน้ำผ่านเยื่อที่มีความละเอียดมากถึง 0.0001 ไมครอน จะทำให้น้ำประปาที่นำมาใช้ในครัวเรือนสะอาดมากขึ้นได้ 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับน้ำประปากินได้ไหม

ตอบคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับน้ำประปากินได้ไหม

1. น้ำประปามีคลอรีนเยอะไหม?

จริง ๆ แล้วในน้ำประปามีการกำหนดปริมาณคลอลีนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้ในน้ำประปาใส่คลอรีนไม่ควรเกิน 5 มิลลิกรัมต่อลิตร จึงจะสามารถนำมาอุปโภคและบริโภคได้อย่างปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ในส่วนของประเทศไทยนั้นทางการประปานครหลวงได้กล่าวว่ามีการใช้คลอรีนในปริมาณ 0.2-2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ดังนั้นน้ำประปามีคลอรีนกินได้ไหมนั้นสามารถกินได้อย่างปลอดภัย

2. น้ำประปาสามารถนำมาต้มกินได้ไหม?

น้ำประปา กินได้ไหม? และหากมีการนำน้ำประปาต้มกินได้ไหม คำตอบคือก็ยังไม่ปลอดภัย 100% เพราะในน้ำอาจมีสารเคมีหรือเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนเข้ามาในขณะที่ปล่อยให้น้ำประปาเย็น รวมถึงอุปกรณ์หรือภาชนะที่ใช้ในต้มหรือกรองน้ำก็อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนได้ด้วยเช่นกัน

3. น้ำประปาที่มีตะกอนขุ่นเกิดจากอะไร?

น้ำประปาที่มีตะกอนขุ่นเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาจากระบบจ่ายน้ำจากต้นทาง ปัญหาท่อน้ำภายในบ้านหรืออุปกรณ์เครื่องกรองน้ำที่ใช้มาระยะเวลายาวนานจนทำให้มีคราบสกปรกฝังตัว การใช้น้ำบาดาลและอื่น ๆ ซึ่งแม้จะสงสัยว่าน้ำประปากินได้ไหม แต่ถ้าเจอน้ำที่มีตะกอนขุ่นควรเลี่ยงที่จะบริโภคหรือนำมาใช้งาน เพื่อสุขอนามัยที่ดี

สรุปน้ำประปา กินได้ไหม? น้ำดื่มที่สะอาด ปลอดภัย ต้องมาจากระบบจัดการน้ำประปาที่ได้มาตรฐาน  

น้ำประปา กินได้ไหม? ก่อนที่จะมั่นใจว่าน้ำประปาดื่มได้จริง เป็นน้ำสะอาดปลอดภัยจากเชื้อโรค ต้องเลือกใช้บริการหน่วยงาน หรือองค์กร ที่มีความชำนาญในเรื่องการดูแลระบบประปา โดยเฉพาะระบบน้ำที่มีมาตรฐาน ให้ UU Group เป็นบริษัทที่ให้บริการสาธารณูปโภคด้านน้ำแบบครบวงจรเป็นผู้ดูแล

UU Group มีบุคลากรที่มีความชำนาญในด้านการบริหารจัดการน้ำประปา น้ำเสีย น้ำอุตสาหกรรม และสาธารณูปโภคของประเทศด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยาวนานกว่า 25 ปี จึงมั่นใจได้ว่าสามารถจัดการระบบน้ำประปาให้สะอาด ปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนดไว้

หากสนใจดูตัวอย่างระบบ ความเชี่ยวชาญสามารถเข้าไปดูระบบได้ที่ http://showroom.uu.co.th/

หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการต่าง ๆ ได้ที่ช่องทาง

Facebook : UU Water Solution

Email: UU_BD@uu.co.th

เบอร์โทร 091-575-1028 , 065-506-5214

References

Is Tap Water Safe to Drink? What You Need for a Healthy Home. (2022, April). HomeWater.

https://www.homewater.com/blog/is-tap-water-safe

Neha Pathak, MD, FACP, DipABLM (2022, September27). Drinking Water Quality: What You Need to Know.WebMD

https://www.webmd.com/diet/safe-drinking-water

Drinking Water Chlorination: Frequently Asked Questions. (2022, March 3).MM Department Of Health.

https://www.health.state.mn.us/communities/environment/water/factsheet/chlorination.html

โพสเมื่อ 2023-12-22

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

สายสืบน้ำสูญเสีย โรงเรียนชุมชนวัดหนองคอกหมู จ.ระยอง
2024-09-18
กลุ่มบริษัท ยูยู อีสท์วอเตอร์ แสดงพลังต่อต้านคอร์รัปชัน
2023-09-06
รักษ์ทุกหยด ลดน้ำสูญเสีย โรงเรียนกรอกยายชา
2023-06-12